.

.

ประวัติพระเครื่องเบญจภาคี

ประวัติพระเครื่องเบญจภาคี

ในความศรัทธาของชาวพุทธ ถือว่าพระเครื่องคือตัวแทนแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันนำมาแต่ความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
และสุดยอดพระเครื่อง หรือพระพิมพ์ที่คนไทยนับถือ สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วอายุคน
ก็คือพระเครื่องเบญจภาคีทั้ง ๕ ได้แก่
พระสมเด็จฯ พระรอด พระผงสุพรรณ พระกำแพง พระนางพญา
ที่กำเนิดขึ้นด้วยจิตศรัทธาบริสุทธิ์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
จึงควรยิ่งที่นำทองคำบริสุทธิ์ ล้ำค่า มาห่อหุ้มองค์พระด้วยกรอบพระทองคำ
ที่ผ่านการออกแบบลวดลายทองอันงดงาม วิจิตรบรรจงแห่งศิลปะชั้นสูง
นับเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของการบูชาพระ
และกรอบพระยังช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับองค์พระเตรื่องได้เป็นอย่างดี

ประวัติพระเครื่องเบญจภาคี โดยย่อ มีดังนี้

๑. พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม



พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
แม้ในจำนวนพระเบญจภาคีด้วยกันจะถือว่ามีอายุการสร้างไม่นานนัก คือ ประมาณ ๑๐๐ กว่าปี
แต่พุทธศาสนิกชนต่างยกย่องให้เป็น "ราชาพระเครื่อง" ที่ทรงไว้ด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ยิ่ง



๒. พระรอด ลำพูน



พระรอดได้กำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเคล็ดในความมั่นคงของแผ่นดินให้รอดพ้นจากข้าศึกศัตรู
ในสมัยพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นกษัตรีพระองค์แรกในดินแดนสุวรรณภูมิ
ผู้ครองนครหริภุญชัย คือ จ.ลำพูนในปัจจุบัน ด้วยอายุกว่า ๑,๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
พระรอดถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย

จากคำบอกเล่า มีการขุดพบพระรอดเพียง ๒ ครั้งใหญ่เท่านั้น
ครั้งแรก ขุดพบในสมัยสงครามอินโดจีน และมอบพระรอดให้กับผู้รอดชีวิตจากสงครามกลับมา
ครั้งที่ ๒ ขุดพบในช่วง พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๐๓ โดยพวกชาวบ้าน
ต่อจากนั้นก็ไม่มีการค้นพบพระรอดอีกเลย

พระรอดของแท้ต้องมาจากลำพูน และในตระกูลพระรอดด้วยกัน
พระรอดจากกรุวัดมหาวัน ได้รับการยกย่องว่าเลื่องชื่อมากที่สุด
ด้านพระพุทธคุณ ว่าแคล้วคลาดปลอดภัยยอดเยื่ยมสมชื่อนัก



๓. พระผงสุพรรณ



พระผงสุพรรณ หรือมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า นางสุพรรณ
พบครั้งแรกที่กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖
โดย พระยาสุนทรสงครามผู้ว่าราชการจังหวัดได้ถากถางสถานที่เตรียมรับเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จไปนมัสการ พระเจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์
พระผงสุพรรณ ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าใครเป็นผู้สร้าง
บ้างว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพระวันรัตน วัดป่าแก้ว
บ้างก็ว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง



๔. พระกำแพงทุ่งเศรษฐี หรือ พระซุ้มกอ



ตามตำนานกล่าวว่า พระกำแพงทุ่งเศรษฐีได้ถูกค้นพบที่กรุทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร
ณ วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณ พระมหาเจดีย์ดังกล่าว พระยาศรีธรรมาโศกราชาเป็นผู้สร้าง
เพื่อเป็นบวรอนุสรณ์ในพระพุทธศาสนา โดยมีฤาษี สมณชีพราหมณ์ มาชุมนุมพร้อมจิตสรรค์สร้างพระพิมพ์
เนื้อผงพิมพ์ประกอบไปด้วยเอกสรรพสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ อาทิ ว่าน รากไม้ และเกสรดอกไม้นานาชนิด
พร้อมลงเวทมนตร์คาถา รวมจิตที่บริสุทธิ์ บวงสรวงอัญเชิญเทพยดาจากทุกสารทิศ
มาเป็นพลังทิพย์สถิตย์ในองค์พระ



๕. พระนางพญา



พระนางพญา สันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่นางวิสุทธิกษัตริย์
พระมเหสี เมื่อครั้งสร้างวัดนางพญา และ วัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก

อีกนัยหนึ่งกล่าวว่า วัดนางพญาเป็นสมบัติของอัครมเหสีของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สร้างพระพุทธรูป ๓ องค์
ได้แก่ พระพุทธชินราช พระชินศรี และพระศาสดา พระอัครมเหสีเห็นว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ ไม่สามารถนำพา
เคลื่อนไปไหนได้ จึงทรงสร้างพระเครื่องนางพญาขึ้นเพื่อการบูชา

ส่วนอีกทางหนึ่งเชื่อว่าพระนางพญาเกิดจากฤาษี ๗ ตน ได้มาประชุมสร้างกันไว้
พระพุทธคุณของพระนางพญา พิษณุโลก มรชื่อเสียงขจายในทางนำพาโชคลาภ เมตตามหานิยม
อำนาจ แก่ผู้ที่มีพระนางพญานี้ไว้เป็นพุทธสมบัติ



ขอขอบคุณ : ห้างทองคุณฮั้ว (หล่อ) : ที่มาของบทความ