.

.

tiny rolled metal amulet... ตะกรุด

โต๊ะช่าง..ขอโชว์ วันนี้มีงานรวมมิตรตะกรุดมาให้ชมกันค่ะ

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับความหมายของตะกรุดคร่าว ๆ ก่อนนะคะ

ความเป็นมาของตะกรุด...



ตะกรุด จะมีพุทธคุณ ดีทางป้องกันภยันอันตราย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม
หรือ โชคลาภ นั้นก็แล้วแต่ พระคณาจารย์ต่างๆจะเป็นผู้อธิฐานจิตลงไป
ของดีมีระดับยอดนิยมของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่สร้างไว้ซึ่งแต่ละดอก
แต่ละท่านพระอาจารย์เป็นผู้สร้าง ล้วนมีวิชาอาคมด้วยอิทธิมหามงคลสารพัดประการ

ตะกรุด...เครื่องรางยุคต้นที่ทำด้วยโลหะ
ตะกรุด หมายถึง แผ่นโลหะบางๆ ที่ม้วนกลมลงอักขระ
บางคณาจารย์ถักเชื่อกลงรัก-ปิดทอง ไม่อาจจะยุติได้ว่าตะกรุด จะตบแต่งมากน้อยเพียงใด
แล้วแต่ ท่านพระคณาจารย์ ต่างๆ จะสรรค์สร้าง เช่น เชือกถัก-ลงรัก,
แบบที่นำผงมาพอกก็มี, นำมาบรรจุใส่ในไม้รวกก็มี เป็นต้น



ตะกรุดไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างตั้งแต่สมัยใด แต่มีหลักฐานปรากฎชัดในสมัยรัชกาลที่ 5
พระองค์ทรงสร้างเหรียญเสมา จปร. เพื่อแจกเด็ก เมื่อ พ.ศ. 2444
พระองค์ทรงพระราชทานเหรียญเสมา จปร. ด้านบทเจาะรูสำหรับร้อยด้าย (สำหรับห้อยคอ)
และด้านซ้าย-ขวาของเส้นด้ายร้อยไว้ด้วยตะกรุด ไม่ทราบว่าพระคณาจารย์รูปใดปลุกเสก
เพราะสมัยในยุคของพระองค์มีพระคณาจารย์โด่งดังหลายรูป
แต่ทรงโปรดฯมาก คือ หลวงปู่ปั้น วัดเงิน (รัชฏา-ธิฐาน) ตลิ่งชัน



ซึ่งหลวงปู่ได้รับพระราชทานจีวรลายดอก จปร.
หลักฐานจากรูปถ่ายหลวงปู่ปั้นนุ่งห่มจีวรลายดอก จปร.
แต่หลวงปู่ไม่ปรากฎนามในทำเนียบพระคณาจารย์ เพราะไม่ได้สร้างพระเครื่องแต่อย่างใด
แต่เป็นพระที่มีวิชาอาคม รุ่นเดียวกับ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง กรุงเทพมหานคร



ตะกรุดยุคโบราณ หรือ ตะกรุดยุคเก่า ส่วนมากทำด้วยเนื้อตะกั่วสังขวานร
คือตะกั่วที่รีดบางและลงอักขระ ส่วนโลหะอื่นๆนั้นเป็นยุคหลังลงมา
มีด้วยกันหลายขนาด บางองค์มีความยาว 1 เซนติเมตรถึง 3 นิ้ว
ดังเช่น ตะกรุดขนาดเล็กจิ๋วบาง ที่ฝังในเนื้อคน
ก็มีของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น

(ที่มาบทความ : เวบอิทธิปาฏิหาริย์)
ความหมายเพิ่มเติมของตะกรุด คลิก





งานเลี่ยมเงินตะกรุดชิ้นแรกนี่มากจากลูกค้าขาประจำ คุณเก่ง แท๊กซี่อารมณ์ดีค่ะ
เจ้าของต้องการเลี่ยมแบบอัดกันน้ำ ๓ ชั้น รวมถึงยกซุ้มหัวสิงห์ และมี ๓ ห่วง
อ้อ...อย่าลืมชุบทองคำขาวให้ผมด้วยนะคร้าบบบบบ...



ช่างยอด ช่างเลี่ยมมือฉมังรีบจัดให้ไม่รอรี
เลือกแแผ่นเงินเบอร์หนาเพื่อรองรับงานเลี่ยมไซส์บิ๊กโดยเฉพาะ



งานเสร็จออกมาสวยน่าดูชมเลยล่ะค่ะ
นอกจากช่างยอดแต่งซุ้มหัวสิงห์ให้แล้ว ยังเพิ่มแผ่นเงินสองชั้นใว้ที่ขอบทั้งสองฝั่ง
เลื่อยฉลุให้เป็นพยานาค ๔ ตนด้วยกัน...





งานเลี่ยมตะกรุดชิ้นต่อมา ลูกค้าต้องการเลี่ยมเงินแบบอัดกันน้ำ ๓ ชั้น ๒ ห่วง
และปิดหลังค่ะ



ช่างอัดกันน้ำเปิดทรงเป็นวงรีให้อย่างสมดุล
ห่วงทั้งสองด้านบน ช่างเลี่ยมของเราก็ไม่ลืมที่จะเสริมแผ่นข้าวหลามตัดให้
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แผ่นเงิน ยามที่เจ้าของสวมใส่ค่ะ



ปิดแผ่นหลังเต็ม...ช่างแกะโชว์ลายเต็มได้อย่างเต็มที่
อ่อนช้อยปราณีต สมความเป็นโต๊ะช่างค่ะ







ตะกรุดอีกสองดอกนี้ พี่สุธีร์ ขาประจำมาสั่งเลี่ยมเอาไว้
ขอแบบใส่หลอด เลี่ยมจุกเงินหัวท้าย และติดซุ้มหัวสิงห์และดอกพิกุล




ตะกรุดเลี่ยมเงินซุ้มหัวสิงห์





ตะกรุดเลี่ยมเงินซุ้มดอกพิกุล







งานตะกรุดชิ้นสุดท้ายของวันนี้ที่ขอโชว์ เป็นตะกรุดขนาดจัมโบ้ค่ะ
ขาประจำสั่งเลี่ยมไปหลายชิ้นแล้วถูกใจ
หนนี้ พี่เค้ามีโจทย์มาว่า ขอซุ้มบัวสวย ๆ และแกะลายที่ไม่ซ้ำแบบใคร





ช่างแดงของเราเมื่อได้โจทย์งานแกะเช่นนี้ ก็บิวท์อารมณ์ติสท์ออกมาทันทีเชียวค่ะ



หัวตะกรุดปะด้วยซุ้มดอกบัวลวดขดออกมาจากช่างเลี่ยมแล้ว

เมื่องานมาถึงมือช่างแดง...
เรามาชมกันไหมคะ...ว่าช่างแดงของเราแต่งแต้มศิลปะชิ้นนี้อย่างไรกันบ้าง



ตอนที่ผู้เขียนไปชมงานแกะลาย ก็อดอมยิ้มน้อย ๆ ไม่ได้ทีเดียวค่ะ
ก็เพราะดอกบัวหัวท้ายตะกรุด ๒ ดอกนั้นเป็นแรงบันดาลใจแท้ ๆ ...
บ้านเรือนไทยริมน้ำและสระบัว ยามอาทิตย์อัสดง จึงถูกบรรจงสลักขึ้น
จากจินตนาการของช่าง สู่ชิ้นงานเลี่ยมเงินชิ้นนี้..ชิ้นเดียวในโลกค่ะ




สระบัวน้อยที่ซ่อนอยู่ด้านใต้หัวตะกรุด



ขนาดของตะกรุดเมื่อเทียบกับมือของผู้เขียน