.

.

อยากเป็น ... "เด็กวัด"

อย่างที่ได้เกริ่นเอาไว้ให้ทุกท่านฟังแล้วว่าช่วงปลายเดือนที่แล้วเป็นช่วงที่พิมตั้งใจะไปเก็บตัวที่กาญจนบุรี
แต่ด้วยวิกฤติน้ำท่วมที่รุนแรง ทำให้คอร์สถูกยกเลิก จึงทำให้พิมลี้ภัยมาอยู่ที่ศรีราชากับเพื่อนสนิทแทน

ไหน ๆ ก็ตั้งใจที่จะไปปฏิบัติธรรมแล้ว เราสองคนจึงคิดว่าลองหาที่ที่เหมาะสมในชลบุรีนี้ดูก็ได้
มีเวลาว่างตั้งเป็นสัปดาห์ (หรืออาจยาวกว่านั้น...) เราสามารถแบ่งเวลาไปอยู่วัดได้ 5-7 วันเลยทีเดียว

------------

ปีที่แล้วที่อเมซอน จำได้ว่ามีวันนึงก่อนแว๊บออกมา เพื่อไปฟังธรรมที่บ้านอารีย์ต่อ
พี่สามบีสมาชิกเวบคนรักมีดท่านนึงแซวว่า "ไปทำไมฟังธรรม" "ทำไมต้องไปให้เค้าสอน สอนตัวเองไม่ได้หรือ..."
พิมได้แต่ยิ้ม ๆ ไปไม่ถูก ถึงกับต้องเรียกแท๊กซี่กันเลยที่เดียว 555

บางที... ถ้าเรามองว่าร่างกายของเรานี้เปรียบเหมือนที่อาศัย...เช่น บ้าน
ใคร ๆ ก็คงอยากอยู่บ้านที่สะอาด ร่มรื่น บรรยากาศดี มองไปทางไหนก็เจริญตาเจริญใจ

การทำความสะอาดร่างกายทุกวัน ก็เหมือนการทำความสะอาดบ้าน
การประดับตกแต่งร่างกายด้วยข้าวของสวย ๆ งาม ๆ ก็เหมือนเราตกแต่งบ้านให้หรูหราอู้ฟู่แล้วแต่รสนิยม
... อันนี้ทุกคนเข้าใจง่าย ...

ส่วนการทำความสะอาดใจ เสมือนการสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับบ้าน
ยกตัวอย่างเช่น เราทุ่มสตางค์สร้างบ้านหมดไปเสียหลายหลัก แต่บ้านกลับตั้งอยู่ในทำเลไม่เหมาะ
อยู่ติดร้านคาราโอเกะ อยู่ในชุมชนแออัด อยู่ล้อมรอบไปด้วยน้ำครำ อยู่ในดงโจร ฯลฯ
บ้านเราสวยและสะอาดก็จริง แต่ทว่าบรรยากาศรอบบ้านและในบ้านกลับอึกทึกวุ่ยวาย และร้อนรุ่ม...

...บ้านนั้น ก็ไม่ปลอดภัย ไม่น่าอยู่...

Photobucket

ฉันใดก็ฉันนั้น

การไปฟังธรรม...คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปราชญ์เอกของโลกพระองค์หนึ่ง
สำหรับพิมแล้ว ก็เสมือนการไปเรียนสูตรการทำความสะอาดบ้าน สูตรยารักษาโรค
เราได้รู้จักสารต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เหมาะกับสภาวะ และอาการต่าง ๆ กันไป
ไว้ให้เราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้าน และบรรยากาศบ้านของเรา...

ถามว่า ไปฟังธรรม หรือ ไปวัดแล้ว... ชีวิตดีขึ้นเลยมั้ย ?
ตอบได้ทันใดว่า...ยัง

จนกว่าเราจะได้ทดลองและตั้งใจผสมสูตรและทดลองใช้ ทดลองทำจริง ๆ นั่นแหละ เราจึงค่อย ๆ เห็นผล

Photobucket

ส่วนการปลีกวิเวกไปอยู่วัดไปปฏิบัติธรรมเป็นครั้งเป็นคราว
สำหรับพิม เป็นการเว้นวรรค เว้นจังหวะ ให้ชีวิต
ตัวหนังสือที่เขียนติดกันเป็นพรืดไม่เว้นวรรคจะทำให้อ่านยาก และอึดอัด
ชีวิตที่ไม่มีการหยุดพักและทบทวน ก็ให้ความรู้สึกไม่ต่างกัน

การหยุดพักเว้นวรรคให้กับชีวิตโดยการท่องเที่ยวและการปฏิบัติธรรมต่างกันอยู่ตรงที่ว่า...
การเที่ยว... ใจได้พักจากความคิด แต่จิตก็ยังแส่ส่ายเพราะส่งออกนอกไปกับสิ่งเร้าต่าง ๆ
การปฏิบัติธรรม... ใจได้พักความคิด และจิตได้พบกับความว่าง
ได้เห็น ได้รู้จัก "เพื่อน" อีกคนนึงที่อยู่กับเราตลอดเวลา แต่เราไม่เคยทำความรู้จักเค้าเลย...
"เพื่อน" คนนั้นก็คือ "ลมหายใจ" ...

นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการฝึกตนเองทั้งกายและใจ
ให้บ้านหลังนอก กับ บรรยากาศภายใน ไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืน
บ้านหลังนอก...ร่างกาย เป็นมนุษย์ แล้ว
บรรยากาศภายใน...จิตใจ ก็ควรเป็นมนุษย์ด้วย

...กายใจที่ผนวกมาเป็นหนึ่งชีวิตนั้นจึงจะพบความสมดุลที่แท้จริง...


-----------------------

.
.
.

เอาอีกแล้ว... ยัยคนนี้ร่ายยาวอีกแล้ว
มีเวลาตกผลึกเมื่อไหร่ ยัยคนนี้จะมีภาวะศิลปินเข้าสิงสู่ (เหมือนผีอีเม้ย...)
อย่านะ อย่าเข้ามานะ... ชั้นมีพระ ! 555
.
.
.

กลับเข้ามาเรื่องเดิม...

ไปอยู่วัดคราวนี้ เรามีสองตัวเลือกคือ วัดถ้ำยายปริก บนเกาะสีชัง
ซึ่งจากที่ไปสำรวจมาแล้ว น่าอยู่ บรรยากาศสัปปายะมาก ๆ
แต่ติดตรงที่ว่าวัดอยู่บนเกาะ สภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯ แบบนี้ หากมีเรื่องฉุกเฉินที่ร้านขึ้นมา
กลัวจะข้ามเรือกลับมาไม่ทันใจ

เราจึงเลือกตัวเลือกที่สอง คือวัดป่าวชิรบรรพต ตั้งอยู่บนเขาปากแรต
ต.หนองข้างคอก อ.เมือง จ.ชลบุรี

Photobucket

วัดป่าวชิระบรรพตนี้เริ่มแรกเดิมทีเป็นเพียงที่พำนักสงฆ์
โดยผู้ก่อตั้ง...อาจารย์สู พรหมเชยธีระ นั้น
มีความประสงฆ์ที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ที่เผนแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป

จนเมื่อเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว
พระอาจารย์ ธมฺมวุฑฺโฒตอง พระสุปฏิปัณโณอีกท่านหนึ่ง...
ท่านได้ธุดงค์ผ่านมา และเห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
จึงเข้ามาขออยู่ปฏิบัติสักระยะหนึ่ง โดยคงรักษาวัตรปฏิบัติ 3 ข้ออย่างเคร่งครัด นั่นคือ
1. บิณฑบาต เลี้ยงชีพ
2. ฉันวันละมื้อเดียว
3. ไม่จับหรือมีปัจจัย(เงิน)ไว้ในครอบครอง

จากวันสู่เดือน เดือนสู่ปี หลวงพ่อก็ยังคงรักษาวัตรปฏิบัติและดำเนินตามปฏิปทาของสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ
ชาวบ้านร้านถิ่นจึงเกิดความศรัทธาเพิ่มมากขึ้น ๆ
ใส่บาตรมากขึ้น ทำบุญมากขึ้น วันพระก็พากันขึ้นเขามาทำบุญสวดมนต์กันจนแน่นศาลา
พอหลวงพ่อเริ่มเทศน์สอนญาติโยม ก็มีคนเข้ามาปฏิบัติะรรมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

หลายปีผ่านไป...กระทั่งเมื่อปัจจัยทุกอย่างเอื้ออำนวย
ที่พำนักสงฆ์สงฆ์เล็กจึงได้กลายมาเป็น วัดป่าวชิระบรรพต
โดยมีพระมหาตอง ธมฺมวุฑฺโฒ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายในวัดนี้ก็เน้นหลักการเรียบง่าย แต่ได้ประโยชน์สูง
ทั้งโบสถ์ ศาลา หอไตร กุฏิ และที่พักผู้ปฏิบัติธรรม



...โบสถ์...

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket





หอไตร...

Photobucket

Photobucket


---------------------



...ที่พักของผู้ปฏิบัติธรรมหญิง...

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket
(ชานระเเบียง หน้าห้องพักของพิมเอง....)



--------------

การมาขอปฏิบัติพักค้างที่นี่ก็ไม่ยากเย็นเลยค่ะ
วันที่พิมมาถึง ก็พบหลวงพ่อตอง ท่านเจ้าอาวาสนั่งรับแขกอยู่พอดี

กำลังคิดว่าจะบอกหลวงพ่อว่าอย่างไรดีเรื่องมาขอพักค้างปฏิบัติธรรม... คิดอยู่ตั้งหลายอย่าง
พอหลวงพ่อเห็น ก็ถามว่า "ว่ายังไง"
ตอบท่านไปว่า "จะมาขอปฏิบัติธรรม..." แล้วก็จะอธิบายอะไร ต่อมิอะไรที่คิดไว้
ยังไม่ทันพูด หลวงพ่อก็บอกว่า "เอ้า... งั้นก็ไปเปลี่ยนชุด แล้วมารับศีล..."

วุ้ย... ทำไมมันง่ายอย่างนี้ ไม่ต้องเช็คประวัติกันหรือไร ?
ประมาณว่า เจ้าเป็นลูกใครเหล่าเต้า มาจากไหน ทำไมถึงบวช ฯลฯ
สมกับที่พี่ที่เค้าแนะนำให้มาที่นี่ ว่าหลวงพ่อท่านมีเมตตามาก

จนกระทั่งรับศีลเสร็จแล้วนั่นแหละ ท่านถึงได้สนทนาไต่ตามถึงประวัติกัน...

สอบถามถึงการปฏิบัติ...ท่านบอกว่า ก็ทำ ๆ ตามเค้าไป เดี๋ยวก็รู้เอง...
หลวงพ่อให้หนังสือมา 1 เล่ม... "ศีล" การเดินทางสู่ความสุข

Photobucket

ท่านถามเลย "รู้มั้ยว่า ศีล คืออะไร"
นั่งอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ตอบไม่ถูก... (เป็นไงล่ะ แม่คน "ปฏิบัติธรรม" เจอคำถามแรกไป ก็ตกม้าตายเสียแล้ว...)
"เอ้า เปิดไปหน้าหนึ่งแล้วอ่านเลย" หลวงพ่อสั่ง

...ศีล คือ ความสำรวมกาย วาจาให้เรียบร้อย
ศีล กำจัดกิเลสอย่างหยาบ คือ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ที่ออกมาทางคำพูด ทางการกระทำ"...

เพียง "ศีล" เรื่องที่เราคิดว่าเรารู้จักดีแล้ว รักษาดีแล้ว
หลวงพ่อยังอธิบาย ให้ความกระจ่าง และเน้นให้รักษาศีลให้มั่นเป็นเบื้องต้นก่อน

เพียงการนั่งสนทนากับท่านมหาตอง ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
ก็ได้รู้ ได้เห็นอะไร ๆ มากมาย และได้สัมผัสความเมตตาของท่าน
...นี่แหละ หน้าที่ของพระสงฆ์ ต่อฆราวาส ที่แท้จริง ... "ให้ธรรมะ" ...

โดยรวมแล้ว การมาปฏิบัติธรรมที่นี่ ไม่มีข้อกำหนด หรือระเบียบที่เคร่งครัดหรืออยู่ในรูปแบบมากเกินไป
ผู้มาปฏิบัติควรต้องมีความรู้ หรือแนวทางการปฏิบัติพื้นฐานมาบ้างก่อนแล้ว
เนื่องจากที่นี่ไม่เน้นสอนแนวทางใด แนวทางหนึ่ง แต่จะช่วยเอื้อเฟื้อปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติ
เช่น สถานที่สวดมนต์ ที่พัก ที่สะดวกสัปปายะ อาหาร น้ำ ไฟ

โดย สิ่งที่ต้องปฏิบัติรวมกันทุกวัน คือการสวดมนต์ ทำวัตร เช้า-เย็น ทานอาหาร
และงานทำความสะอาดวัดตามแต่จะถนัดกันไป

Photobucket

Photobucket

Photobucket

เพราะฉะนั้นผู้ที่ตั้งใจจะมาปฏิบัติภาวนาควรต้องมีแนวทางของตนเองมาแล้วบ้าง

เวลาที่เหลือ เป็นเวลาการปฏิบัติส่วนตัว
ใครใคร่นั่ง...นั่ง
ใครใคร่ยืน...ยืน
ใครใคร่เดิน...เดิน
ใครใคร่ทำความสะอาด...ก็ทำ...

---------------------

ทุกวันพระสงฆืที่นี่จะเดินบิณฑบาตตั้งแต่ฟ้าเริ่มสาง
เหล่าผู้ปฏิบัติก็ได้อานิสงฆ์จากข้าวก้นบาตรและอาหารญาติโยมนำมาถวายที่วัดกัน

Photobucket

Photobucket

Photobucket

เดินต่อแถวตักอาหารมื้อแรก...ตกกะใจ อย่างแรง !
ก็ภาชนะใส่อาหารที่นี่ คือ "กาละมัง"

Photobucket

Photobucket

กาละมังจริง ๆ ค่ะ ทั้งรูปทรงและขนาดใหญ่สะใจ
สงสัยว่าพระท่านกลัวผู้ปฏิบัติจะหิว ก็กินวันละมื้อเหมือนกันนี่นา...อิอิ

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

--------------------


Photobucket

เสร็จจากทานอาหารเช้าก็ช่วยกันล้างจาน ล้างหม้อ ล้างไห...



Photobucket

พระอิ่ม คนอิ่ม ... ก็ได้เวลาของน้องหมาบ้าง...


Photobucket

ขวัญใจน้องหมามาแว้วววววว....



Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket





Photobucket

แม่ตัวนี้ตาบอดค่ะ ต้องผูกไว้ให้อยู่กับที่ ไม่อย่างงั้นสะเปะสะปะไป จะโดนตัวอื่นกัดเสีย




การมาอยู่วัดที่นี่ ต้องมีวินัยในตัวเองอย่างมาก เนื่องจากทางวัดไม่เคร่งครัด ไม่กำหนดกติกามากมาย
หากหลง หรือเผลอ ๆ ไปนั่งเม้าส์กับคนอื่นเพลิน ก็จะสูญเวลาที่จะใช้เจริญภาวนาไปมากทีเดียว

------------------------

มาวัดครั้งนี้ได้มีโอกาสผจญภัยเล็ก ๆ ด้วย

พี่ที่มาปฏิบัติที่นี่พร้อม ๆ กัน เธอเป็นศิษย์ก้นกุฏิที่นี่
ด้วยความที่ว่างเพราะมีหอพักให้เช่าเป็นของตัวเอง จึงมาอยู่วัดบ่อย ๆ มาก ๆ (น่าอิจฉา...)
วันก่อนจะกลับบ้านหนึ่งวัน ก็ชวนกันขึ้นเขาปากแรต ที่อยู่สูงขึ้นไปจากวัดประมาณ 2 กิโล
พิมรีบตกลง เพราะอยากขึ้นไปเห็นที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ยุคบุกเบิกของวัดนี้กับตาตัวเองเหมือนกัน...

รวมพลเสร็จสรรพนับได้ 9 หญิง เตรียมเสบียงน้ำดื่ม ยากันยุงแล้ว ก็ลุยกันเล้ย...

Photobucket

หนทางก็ไม่โหดมาก มีบันไดหินเป็นระยะ ๆ
แต่ต้องฝ่าพงหญ้ารก ๆ ไปเรื่อย ๆ
งูไม่กลัว...กลัวมด มันกัดเจ็บมากกกกกก

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

มาลองขึ้นเขา หนทางชิลเด้น ๆ แบบนี้แล้ว
ตอนนี้ถ้าใครมาชวนไปทริปเดินป่า ตอบได้ทีนทีว่า...ขอผ่าน
รู้แล้วว่าไม่ใช่แนวเราเลย งือ งือ...



Photobucket

แต่ในที่สุดเราก็เดินมาถึงจุดหมาย
ได้เคารพเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงพ่อเชย พระปฏิบัติองค์แรก ผู้ที่อาจารย์สูนับถือเป็นครูบาอาจารย์
ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ ที่ชอบทำตัวแปลก ๆ เช่น เดินเก็บขยะตามทาง นอนในโกดังเก็บศพ
จนใคร ๆ ที่ไม่รู้ พากันเรียกท่านว่า "หลวงตาเชยบ้า"
เบื้องลึกผ่านภาพมายานั้น ท่านเป็นพระนักปฏิบัติภาวนา
และมีเมตตาสูง ตามคำบอกเล่า เค้าว่าท่านสามารถเทน้ำใส่ฝ่ามือให้งูเห่ามากินน้ำได้เลยกระนั้น...
ในบั้นปลาย ท่านมาพำนักบนเขาปากแรตแห่งนี้ และมรณะภาพที่นี่
เมื่อฌาปนกิจศพท่านแล้ว ปรากฎว่าสรีระของท่านกลายเป็นธาตุสีสันสวยงามมากมาย

บนนั้นยังมีเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของอาจารย์สู และพระเขมรอีก 2 รูป
ที่ปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้น จนกระทั่งมรณภาพบนยอดเขาแห่งนี้เช่นกัน

------------------

Photobucket

Photobucket

Photobucket

เราได้มาถึงอดีตกุฏิ 2 ชั้น
ที่เคยเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ ก่อนที่สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นวัดอย่างเต็มรูปแบบในภายหลัง

Photobucket
ชั้นบนเป็นห้องพระ ที่เงียบสงบ
พวกเราน้อมจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และน้อมกราบด้วยความเคารพสูงสุด
เมื่อบรรยากาศที่เงียบสงบเอื้ออำนวยจนถึงขนาดนี้
เราจึงชักชวนกัน นั่งสมาธิ ทำความสงบใจสักครู่
...ความสงบเงียบทั้งภายนอกและภายใน มันเป็นสุขเช่นนี้เอง...

Photobucket

Photobucket





Photobucket

พวกเราถ่ายรูปรวมกันเป็นที่ระลึกถึงการผจญภัยไปสู่ความสุขสงบ ในครั้งนี้ด้วย

-------------

ไม่เคยคิดฝันมาก่อน ว่าลูกผู้หญิงอย่างเราจะมีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ติดตามพระไปบิณฑบาตด้วยแฮะ

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า...

เช้าวันที่สอง หลังจากที่ทำวัตรเช้าแล้ว...
ขณะที่พระสงฆ์เตรียมตัวบิณฑบาต พิมสังเกตุเห็นผู้ปฏิบัติหญิงหลายคนเตรียมสะพายย่าม...

...ผู้หญิงเป็นลูกศิษย์ได้ด้วย...

Photobucket

เร็วเท่าความคิด... พิมรีบเดินเข้าไปขออนุญาตเดินตามหลวงพ่อด้วย

"จะไหวหรือ ต้องถอดรองเท้าเดินนะ" ท้วง...ด้วยความเมตตา
"ค่ะ ต้องลองดู" ตอบ อย่างคนอยากรู้อยากลอง
"พื้นมันเป็นกรวด เป็นหินนะ มีถุงเท้ามั้ยล่ะ ใส่ถุงเท้าได้" แนะอีกครั้ง ด้วยเห็นว่าเป็นชาวกรุงที่ฝ่าเท้าไม่เคยสัมผัสความหยาบของถนนกรวด
"ถุงเท้าไม่มีค่ะ ไม่ได้เตรียมมา แต่คงค่อย ๆ เดินตามไปได้..." ตัดสินใจแล้ว ต้องทำ...

ปฏิบัติการ ลูกศิษย์ตามบิณฑบาตครั้งแรกในครั้งชีวิตก็ได้เริ่มต้นขึ้น ขณะที่ฟ้าเริ่มสาง

Photobucket

Photobucket


ด้วยวัยประมาณ 50 กว่า ๆ หลวงพ่อเดินนำลิ่ว ๆ
ลูกศิษย์เก่าเดินตามไปติด ๆ ...รั้งท้ายด้วยแม่พิมผู้กระย่องกระแย่งด้วยระคายเท้าเหลือประมาณ แต่ใจสิเกินร้อย

หลวงพ่อหันมามองลูกศิษย์เป็นปลายแถวระยะ ๆ
พลางบอกทุกครั้ง "ไหวมั้ย ? ไม่ไหวกลับก่อนได้นะ "

แรก ๆ ก็ไม่ยอมกลับเพราะใจยังสู้
แต่ตอนหลังที่ไม่กลับเพราะว่า ... กลับไม่ถูก !

Photobucket

Photobucket

Photobucket

ก็เส้นทางบิณฑบาตของท่านนั้น จากทีแรกที่เดินถนนหน้าวัดไปแล้ว
ก็ผ่านเส้นทางบุกป่า ฝ่าสวน ลุยลำธาร ฯลฯ ลัดเลาะไปเรื่อย ไม่มีทิศทางทีแน่นอน
แต่ทุกที่ที่หลวงพ่อเดิน นั่นคือที่ที่มีโยมขาประจำนิมนต์ท่านไว้ทั้งสิ้น

---------------------------

นึกอนุโมทนาไปด้วยทุกครั้งที่เห็นญาติโยมผู้มีศรัทธา นั่งรอ ยืนรอ
เพื่อจะถวายข้าวสุก ที่บรรจงคดมาจากปากหม้อข้าว
ข้าวที่เมล็ดสวยที่สุดถวายแด่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ...

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

ทั้งสะพายย่าม ทั้งเก็บภาพ ทั้งต้องคอยมองหลบหินและกรวดอันแหลมคม และต้องหนีฝูงหมาใหญ่น้อย
สติ ลมหายใจ และการตามความรู้สึก ที่ฝึกมาดีแล้ว ถูกงัดนำมาใช้ในเวลานี้นี่เอง

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


-----------------


Photobucket

ในที่สุด ในที่สุด... เราก็ออกมาสู่ท้องถนนอีกครั้ง
ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ตัวเองจะดีใจที่ได้เดินบนถนนคอนกรีตด้วยเท้าเปล่า !

Photobucket

สิ่งนี้ทำให้ได้แง่คิดว่า...
เราไม่เคยรู้หรอกว่าสิ่งที่เราได้รับ หรือเผชิญในทุกวันนี้ มันเป็นโชคดีแค่ไหนแล้ว จนกว่าเราไปเจอสิ่งที่แย่กว่า
ก็การเดินเท้าเปล่าบนพื้นคอนกรีตว่าแข็งและเจ็บแล้ว...
ไปเดินบนพื้นหินพื้นกรวดปุ๊บ รู้เลยว่าที่แท้พื้นคอนกรีตนั้นคือสวรรค์ดี ๆ นี่เอง



Photobucket

พ่อค้าแม่ค้ามอเตอร์ไซด์ รีบจอดรถ เพื่อใส่บาตรด้วย
นึกอนุโมทนาด้วยจริง ๆ




ในที่สุดเราก็กลับมาถึงวัดโดยสวัสดิภาพ

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket





Photobucket

Photobucket

เท้าเรา ที่ปกติกลมสั้นและมู่ทู่อยู่แล้ว
เจองานนี้เข้าไป สภาพดูไม่ได้กันเลยทีเดียว... เฮ้อ !

-------------------------

ในการมาอยู่วัดนั้น
สำหรับแต่ละคนก็ล้วนมีจุดประสงค์และความหมายแตกต่างกันไปบ้าง
สำหรับพิมแล้ว... เป็นเหมือนการมาเก็บตัวเพื่อฝึกสติให้รู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ
ใจที่กว้างและว่างพอ จะสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี และรวดเร็วกว่าใจที่แคบและทึมทึม

Photobucket

หากท่านใดพอมีเวลา และรู้สึกว่าอยากพัก "จิต" พัก "ใจ" ที่แท้...
การลองมาฝึกปฏิบัติภาวนาที่วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรม ก็ดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย

หากลองดูแล้ว มันเวิร์ค ท่านจะพบว่า... ชีวิตท่านจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปในทางใดทางหนึ่ง
หากไม่เวิร์ค ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องเสีย ก็แค่เวลาเพียง 3-5 วันเท่านั้น ... น้ำท่วมยังเสียเวลามากกว่านี้ ...

Photobucket

สุดท้ายก่อนกลับ... พระอาจารย์ตองย้ำว่า จะกลับบ้าน ไม่ต้องลาศีลนะ ให้นำศีลกลับบ้านไปด้วย

...ศีล คือ ความสำรวมกาย วาจาให้เรียบร้อย
ศีล กำจัดกิเลสอย่างหยาบ คือ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ที่ออกมาทางคำพูด ทางการกระทำ"...
...ศีล คือการทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ปกติ...

Photobucket

สรุปส่งท้ายในวันที่จะออกจากวัด...

การปฏิบัติธรรม มิใช่การสร้างปาฏิหาริย์ หรือการชุมนุมเพื่อศรัทธาที่งมงาย
หากแต่เป็นการปฏิบัติเพื่อฝึกฝนตน ทั้งกายและใจ

...มิให้เป็น อสูรกายในร่างคน
...มิให้เป็น อมนุษย์ในร่างคน
...มิให้เป็น เดรัจฉานในร่างคน

หากแต่ให้เป็น "มนุษย์" ทั้งใจและกาย
มน = ใจ , อุษยะ = สูง

... มนุษย์ = ผู้มีจิตใจสูง ...



และทุกอย่างเริ่มต้นที่ ศีล - สมาธิ - ปัญญา

Photobucket

Photobucket

Photobucket



ทุกวันนี้ ตื่นเช้ามาทุกครั้ง...พิมก็ถามตัวเองบ่อย ๆ ... "วันนี้เราเป็นมนุษย์แล้วหรือยัง ?"

Photobucket


--------------------

หนหน้าจะพาไปตะลอนที่ไหน... โปรดติดตามชมนะค้าาาาาาา...